ตอบ +3,+2,+2,+3,+1 (Ni-B +3, Ni-SIa +2, Ni-R +2, Ni-C +3, Ni-L +1)
แนวคิด เริ่มจาก Ni-B ที่มีประจุรวม –2 ลิแกนด์ CO เป็นกลาง ลิแกนด์ –OH, –S-Cys และ –CN มีประจุ –1 เมื่อรวมกับ ไอออนเหล็ก ซึ่งมีประจุเป็น +2 จึงได้ว่า ไอออนนิกเกิลใน Ni-B มีค่าเป็น +3
Ni-SIa เกิดจากการรีดิวซ์ Ni-B ด้วย 1 e– Ni ใน Ni-SIa จึงเป็น Ni2+ ซึ่งเมื่อเติมโมเลกุล H2 ซึ่งเป็นกลางเข้าไป จะไม่มีการเปลี่ยนเลขออกซิเดชันจึงเป็น Ni2+ ใน Ni-R Ni ใน Ni-R จะถูกออกซิไดซ์ด้วย 1 e– และกลายเป็น Ni3+ ใน Ni-C การเปลี่ยน Ni-C ไปเป็น Ni-L จะมีการสูญเสีย H+ ไปที่ลิแกนด์ โดยที่จะทิ้ง
2 e– ไว้กับ Ni จึงเป็น Ni+ และเมื่อเกิดออกซิเดชันอีกหนึ่งครั้ง ด้วย 1 e– ก็จะเปลี่ยนกลับไปเป็น Ni-SIa หรืออาจจะพิจารณาย้อนกลับจาก Ni-SIa ว่าเป็นผลมาจากการออกซิไดซ์ของ Ni-L นั่นคือ Ni ใน Ni-L จึงควรเป็น Ni+