สีน้ำเงินตามธรรมชาตินั้นถือเป็นสิ่งหายากในสมัยโบราณ และสงวนไว้ใช้กับชนชั้นสูงเท่านั้น แต่ในศตวรรษที่ 18 สีน้ำเงิน Prussian Blue ได้ถูกค้นพบโดยบังเอิญ จากความพยายามในการสังเคราะห์สีย้อมสีแดง การที่ Prussian Blue มีราคาถูกนั้นทำให้ถูกนำมาใช้ในภาพวาดต่างๆตลอดจนเป็นสีย้อมในชีวิตประจำวันมากขึ้น
จากสูตรอย่างง่ายของ Prussian Blue, Fe$_4$[Fe(CN)$_6$]$_3 \cdot$ xH$_2$O จงระบุว่ามี Fe(II) และ Fe(III) อย่างละกี่ไอออน
ให้ตอบเป็นจำนวน Fe(II) ตามด้วยจำนวน Fe(III) โดยคั่นด้วยจุลภาค (,) และไม่ต้องเว้นวรรค เช่น หากคิดว่ามี Fe(II) 1 ไอออน และ Fe(III) 1 ไอออนในโมเลกุล ให้เขียนตอบ 1,1
หากตอบไม่ตรงตามรูปแบบที่กำหนด ระบบจะถือว่าตอบผิด
เฉลย
คำตอบ 3,4
แนวคิด
จากสูตรอย่างง่ายของ Prussian Blue, Fe4[Fe(CN)6]3 เมื่อพิจารณา ให้ไอออนบวกและลบมีประจุที่สมดุลกัน จะได้ว่า ([Fe]3+)4 และ ([Fe(CN)6]4—)3 โดยที่จะมีประจุเป็น +12 และ —12 ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ไอออนเหล็ก ที่มี 4 ไอออนจะเป็น Fe3+ ส่วน ไอออนเหล็ก ที่มี 3 ไอออนและถูกล้อมรอบด้วย CN— จะเป็น Fe2+