สัตวเลี้ยงลูกด้วยนมเพศเมียมีโครโซมเพศแบบ XX เซลล์ต่าง ๆ ภายในสัตว์เพศเมียจะมีกระบวนการยับยั้งการแสดงออกของยีนบนโครโมโซม X แท่งใดแท่งหนึ่ง เรียกว่ากระบวนการ X-inactivation กระบวนการนี้ช่วยให้ยีนที่อยู่บนโครโมโซม X ในเซลล์ของสัตว์เพศผู้และสัตว์เพศเมียมีระดับการแสดงออกเท่ากัน
นักวิทยาศาสตร์ต้องการศึกษากระบวนการ X-inactivation ในมนุษย์ จึงทำการแยก cDNA จากยีนจำนวน 3 ยีน (เรียกยีน A, B และ C) ที่อยู่บนโครโมโซม X ของมนุษย์ เปรียบเทียบการแสดงออกยีนในเซลล์ของมนุษย์ปกติ (normal cell) เพศชาย (XY) และเพศหญิง (XX) เซลล์ของมนุษย์ที่มีความผิดปกติของโครโมโซมเพศแบบต่าง ๆ (abnormal cell) และเซลล์ลูกผสมระหว่างมนุษย์และหนู (hybrid cells) 2 แบบ เซลล์หนึ่งเป็นเซลล์ที่มีโครโมโซม X ของมนุษย์ 1 แท่งในสภาพ inactive (X$_{\text{i}}$) และอีกเซลล์หนึ่งเป็นเซลล์ที่มีโครโมโซม X ของมนุษย์ 1 แท่งในสภาพ active (X$_{\text{a}}$) การแสดงออกของยีน A, B และ C ได้ผลดังภาพ
ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
นักเรียนต้องกดเลือกถูกหรือผิดทุกข้อย่อย หากไม่ได้กดเลือกข้อย่อยใด จะถือว่าไม่ได้ส่งคำตอบของข้อย่อยนั้น
1)
ยีน A เป็นยีนที่แสดงออกบนเฉพาะบน active X chromosome มีการแสดงออกเท่ากันในเซลล์เพศหญิงและชาย
2)
ยีน B เป็นยีนที่แสดงออกบน active X chromosome และ inactive X chromosome และมีการแสดงออกเพิ่มขึ้นตามจำนวน X chromosome ภายในเซลล์
เฉลย
แนวคิด
1) เนื่องจาก เนื่องจากยีน A ไม่มีการแสดงออกบน inactive X chromosome (ดูจากเซลล์ rat:human hybrid Xi)
2) เนื่องจาก ยีน B มีการแสดงออกใน Xi และ Xa
3) เนื่องจาก ยีน C มีการแสดงออกเฉพาะบน inactive X chromosome แสดงว่ารูปแบบการแสดงออกคล้ายกับ Xist ซึ่งมีหน้าที่กระตุ้นให้เกิดกระบวนการ X-inactivation
4) เนื่องจาก active x chromosome จะมีการแสดงออกของยีน Tisx เพื่อยับยั้งการทำงานของ Xist