จากข้อมูลของข้อที่ผ่านมา
ลักษณะที่สำคัญของข้าวโพด (Zea mays) 3 ลักษณะ คือ ขนาดฝัก ความต้านทานต่อโรค และสีเมล็ด ซึ่งลักษณะทั้ง 3 นี้ถูกควบคุมด้วยยีนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ยีน B ควบคุมขนาดฝัก โดยแอลลีล B กำหนดฝักขนาดใหญ่ และแอลลีล b กำหนดขนาดฝักเล็ก
ยีน R ควบคุมความต้านทานโรค โดยแอลลีล R ต้านทานโรค และแอลลีล r ไม่ต้านทานต่อโรค
ยีน W ควบคุมสีเมล็ด โดยแอลลีล W กำหนดเมล็ดสีขาว และแอลลีล w กำหนดเมล็ดสีเหลือง
ยีนทั้ง 3 ตำแหน่งมีการข่มกันแบบสมบูรณ์
เมื่อผสมข้าวโพดพันธุ์แท้รุ่นพ่อแม่ระหว่างข้าวโพด เมล็ดสีขาว ฝักขนาดใหญ่ ไม่ต้านทานโรค กับข้าวโพด เมล็ดสีเหลือง ฝักขนาดเล็ก ต้านทานโรค ได้ลูกรุ่นที่ 1 (F1) จากนั้นนำ F1 ที่ได้ไปผสมกับ tester (bbrrww) ทำให้ได้ลูกรุ่นถัดมา จำนวน 1,000 ต้น
|
ตารางแสดงจำนวนลูกลักษณะต่าง ๆ
กรณีที่ยีนทั้ง 3 ตำแหน่งอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน
$\quad \bullet$ ยีน R ที่ควบคุมความต้านทานโรค อยู่ห่างจากยีน B ควบคุมขนาดฝัก เท่ากับ 10 cM
$\quad \bullet$ ยีน W ควบคุมสีเมล็ด อยู่ห่างจากยีน B ควบคุมขนาดฝัก เท่ากับ 20 cM
$\quad \bullet$ ยีน B มีตำแหน่งอยู่ตรงกลางระหว่างยีน R และยีน W
$\quad \bullet$ ค่า interference มีค่าเท่ากับ 0.8
หมายเหตุ ค่า interference เป็นค่าที่แสดงถึงอิทธิพลของการเกิด crossing over ที่ตำแหน่งหนึ่งบนโครโมโซมไปมีผลต่อการเกิด crossing over อีกตำแหน่งหนึ่งในบริเวณใกล้เคียง โดยจะส่งผลทำให้การเกิด crossing over ในบริเวณใกล้เคียงเกิดขึ้นได้น้อยกว่าปกติ หรือน้อยกว่าค่าที่ควรจะเกิดทางทฤษฎี
ค่า interference สามารถคำนวณได้ตามความสัมพันธ์ที่แสดงต่อไปนี้
$\quad$ สัมประสิทธิ์ coincidence + Interference = 1
$\quad$ Interference = 1 หรือ สัมประสิทธิ์ coincidence = 0 หมายถึง การเกิด crossing over ในตำแหน่งหนึ่งทำให้ไม่มีโอกาสเกิด crossing over ในบริเวณใกล้เคียงเลย
$\quad$ Interference = 0 หรือ สัมประสิทธิ์ coincidence = 1 หมายถึง การเกิด crossing over ในตำแหน่งหนึ่งไม่มีผลกระทบต่อโอกาสเกิด crossing over ในบริเวณใกล้เคียง
สัมประสิทธิ์ coincidence = $\frac{\% การเกิด \ \text{double crossing over} \ ที่เกิดขึ้นจริงจากการทดลอง}{\% การเกิด \ \text{double crossing over} \ ที่ควรเกิดตามทฤษฎี}$
เช่น สัมประสิทธิ์ coincidence = 0.5
เมื่อ % การเกิด double crossing over ที่เกิดขึ้นจริงจากการทดลอง = 0.2
และ % การเกิด double crossing over ที่ควรเกิดตามทฤษฎี = 0.4
ตามทฤษฎี A เท่ากับเท่าไร (ตอบเป็นจำนวนเต็ม)
เฉลย
ตอบ 48
คำอธิบาย
กรณีที่อยู่บนโครโมโซมเดียวกัน
interference = 0.8 ดังนั้น สัมประสิทธิ์ coincidence = 0.2
% การเกิด double crossing over ที่เกิดขึ้นจริงจากการทดลอง = 0.2 x (0.2 x 0.1) x 100 = 0.4
แสดงว่า DCO จากการทดลอง = 0.4% จากลูกทั้งหมด 1,000 ตัว จึงเท่ากับ 4 ตัว (มี 2 ฟีโนไทป์ แบบละ 2 ตัว)
จำนวนลูกที่เป็น SCO ระหว่างตำแหน่ง B กับ R เท่ากับ 10 cM = 10/100 = (X + 4)/1,000 ดังนั้น X = 96 (มี 2 ฟีโนไทป์ แบบละ 48 ตัว)