คำตอบของทีม
ไม่ได้ส่งคำตอบ
คะแนน + โบนัสทำเร็ว
0.0
แชร์
ไม่ได้ส่งคำตอบ
กลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเทพนิยายกรีก มีดาวฤกษ์สว่าง 7 ดวง ที่เรียงตัวกันโดดเด่นและคนไทยเรียกว่า ดาวจระเข้ เป็นกลุ่มดาวที่มนุษย์รู้จักดีและใช้ในการหาดาวเหนือ (Polaris)

47 UMa เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในกลุ่มดาวหมีใหญ่ อยู่ห่างจากโลก 46 ปีแสง และ IAU ได้ตั้งชื่อดาวฤกษ์ดวงนี้ว่า "ชาละวัน (Chalawan)" ตามการเสนอของสมาคมดาราศาสตร์ไทยในปี 2015

จากข้อมูลเราเชื่อว่า ชาละวัน มีดาวเคราะห์โคจรอยู่ 3 ดวงคือ 47 UMa b (ถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า ตะเภาทอง, Taphao Thong), 47 UMa c (ถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า ตะเภาแก้ว, Taphao Kaew) และ 47 UMa d

ผู้สังเกตที่อยู่บน ดาวเคราะห์ตะเภาแก้ว จะเห็นการ transit (การผ่านหน้าดาวฤกษ์) ของดาวเคราะห์ตะเภาทอง ทุกๆ 0.82 ปีตะเภาแก้ว  จงหาว่าคาบการโคจรของตะเภาทอง เป็นเท่าใด ในหน่วยปีของตะเภาแก้ว ให้สมมุติว่าการโคจรเป็นวงกลมทั้งหมดและอยู่บนระนาบเดียวกัน

1) 0.22
2) 0.30
3) 0.45
4) 4.55
เฉลย

คำตอบ 3) 0.45 47 UMa c

แนวคิด

Synodic period หาได้จาก $\frac{1}{P_S} = \frac{1}{P_b} - \frac{1}{P_c}$

แทนค่าจะได้ $\frac{1}{0.82} = \frac{1}{P_b} - 1$

ดังนั้น $P_b = 0.45$ 47 UMa c year